Tag - SICT

Animal

“SIC278” ไมโครชิพความถี่ต่ำอัจฉริยะ กับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม

บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาและออกแบบไมโครชิพที่ใช้สำหรับการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ (RFID) โดยทำมาอย่างต่อเนื่องให้สามารถใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งไมโครชิพที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้คือ ไมโครชิพ “SIC278” SIC278 เป็นไมโครชิพที่ใช้เพื่อการระบุตัวตน โดยทำงานในคลื่นวิทยุย่านความถี่ต่ำ (LF) 100 – 150 kHz ซึ่งความพิเศษคือการที่ตัวอ่าน (Reader) สามารถรับข้อมูลจากไมโครชิพนี้ได้ไกลมากกว่า 100 เซนติเมตร* เป็นผลมากจากเทคโนโลยีการออกแบบเฉพาะของบริษัทฯ อีกทั้งยังมีหน่วยความจำที่มีขนาดมากถึง 1184 บิท เพื่อใช้สำหรับการจัดเก็บหมายเลขระบุตัวตน และข้อมูลอื่นๆ ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแก้ไขค่าตัวเก็บประจุเรโซแนนท์ ผ่านการสื่อสารกันทางอากาศระหว่างตัวอ่านกับ SIC278 ได้อีกด้วย ทั้งนี้การปรับแก้ไขจะช่วยเพิ่มระยะการอ่านให้ได้ไกลมากขึ้น ในด้านของระบบความปลอดภัยและมาตรฐาน ไมโครชิพ SIC278 สามารถตั้งค่าการเข้ารหัสผ่านได้ถึงสองชั้น...

Read more...
Animal ID

สัตว์ในฟาร์มกำลังป่วย เราจะรู้ได้อย่างไร

จากบทความครั้งก่อน เราได้กล่าวถึง Animal Identification Tag หรือ Animal ID ว่าคืออะไร และถูกนำมาใช้งานอย่างไรไปในเบื้องต้นแล้ว ในครั้งนี้เราจะมายกตัวอย่างการใช้งานและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อการจัดการและบริหารดูแลฟาร์มปศุสัตว์ให้ได้ดียิ่งขึ้น  ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ในสัตว์ต่างๆ เช่น วัว แพะ หรือ แกะ มักมีอาการป่วยได้ง่าย เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แข็งแรงของร่างกาย หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อใดๆ เป็นต้น โดยการป่วยของสัตว์เพียงหนึ่งตัวนั้น อาจมีการแพร่เชื้อและลุกลามไปยังตัวอื่นๆ ได้ และอาจทำให้สัตว์ทั้งหมดในฟาร์มป่วย ดังนั้นการติดตามสัตว์และป้องกันกระจายของเชื้อจึงเป็นเรื่องสำคัญ  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วย  เราสามารถทราบได้ว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วยหรือไม่ ทำได้ด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถวัดอุณหภูมิของสัตว์ได้ตลอดเวลา เราจึงอาศัยการสังเกตจากพฤติกรรมของสัตว์ โดยพบว่าหากสัตว์มีอาการป่วยหรือไม่สบาย จะมีการกินอาหารที่น้อยลงผิดปกติ ซึ่งสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า สัตว์ตัวนั้นกำลังป่วยอยู่   Animal Tag จะช่วยได้อย่างไร  การที่สัตว์ทุกตัวในฟาร์มมีการติดตั้ง Animal Tag (RFID) ทำให้เราสามารถระบุตัวตนและแยกความแตกต่างของสัตว์แต่ละตัวได้จาก ID (Identification) โดยการตรวจสอบว่าสัตว์ป่วยหรือไม่นั้น ทำได้ด้วยการติดตั้งเครื่องอ่านแท็ก (RFID Reader) ไว้บริเวณรางให้อาหารสัตว์ เมื่อสัตว์เดินมากินอาหาร แท็กกับเครื่องอ่านจะสื่อสารกันด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency; RF) ที่ความถี่ต่ำ 134.2 kHz เพื่อเป็นการเก็บและบันทึกข้อมูล (ID) ของสัตว์ตัวนั้นๆ ถึงพฤติกรรมการกินอาหาร ว่ามีการกินอาหารบ่อยแค่ไหน หากความถี่ในการกินอาหารน้อยผิดปกติ ระบบจะทำการแจ้งเตือน เพื่อให้เราสามารถเข้าไปตรวจสอบอาการของสัตว์ที่ป่วยได้อย่างถูกตัวตาม ID และทำการแยกสัตว์ตัวนั้นออกมา เพื่อป้องการแพร่กระจายของเชื้อ และรักษาอาการต่อไป  บมจ.ซิลิคอน...

Read more...
SIC-EE-Chula

ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาวิศวะไฟฟ้า จุฬาฯ

ดร.บดินทร์ เกษมเศรษฐ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับคณาจารย์ และคณะนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัทฯ และศึกษานวัตกรรมใหม่ในการคิดค้นและพัฒนาไมโครชิพ RFID สำหรับภาคธุรกิจที่ผลิตสินค้าและใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

Read more...
Animal ID-Smart Farm

ยกระดับปศุสัตว์ให้เป็น Smart Farm ด้วย Animal Tag

สืบเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้เร่งอัตราความต้องการปัจจัย 4 พื้นฐานมากยิ่งขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดแล้วสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุดคืออาหาร และจำเป็นต้องคำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย และกระบวนการการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องบริหารจัดการฟาร์มปศุสัตว์ให้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอและรองรับตามความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้  แล้วจะมีสิ่งใดที่จะมาช่วยเกษตรกรกับการควบคุมการผลิตนี้? หลายคนอาจจะเคยไปเยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์กันมาบ้างแล้ว สงสัยกันไหมว่า ที่หูของวัวหรือแกะนั้นมีหน้าที่อะไร มันคือต่างหูสัตว์หรือป่าวนะ? ติดไปเพื่ออะไร? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้หายสงสัยกันครับ  สิ่งที่ติดอยู่กับหูของวัว หรือแกะนั้น คือ “Animal Identification Tag” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “Animal ID” นั่นเอง โดย Animal ID คือไมโครชิพสำหรับระบุตัวตนของสัตว์ เป็นการบอก ID หรือหมายเลขเฉพาะตัวของสัตว์ตัวนั้นๆ ซึ่งคล้ายๆ กับการที่คนเรามีหมายเลขประจำตัวประชาชน โดยเลข ID นี้ จะช่วยให้เจ้าของฟาร์มสามารถจดจำและจำแนกสัตว์แต่ละตัวได้ เนื่องจากการจำแนกจากลักษณะภายนอกคงเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ “Animal Tag” ยังสามารถใช้ในการนับจำนวนสัตว์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เข้าใจกันมากขึ้น เช่น การเลี้ยงวัว จำเป็นต้องปล่อยวัวออกไปทุ่งหญ้าด้านนอก ในขณะที่ต้อนวัวกลับมาเข้าคอก ณ จุดประตูทางเข้าคอกจะมีีเครื่องอ่านแท็ก หรือ RFID Reader และเมื่อวัวเดินผ่านประตู เครื่องอ่านจะเก็บ ID หรือข้อมูลของวัวแต่ละตัวเพื่อเป็นการตรวจสอบจำหนวน และสถานะของวัวนั่นเอง  การสื่อสารระหว่างตัว RFID Tag และ Reader นั้น เป็นการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุไฟฟ้า หรือ RFID ด้วยคลื่นพาหะความถี่ต่ำ (Low Carrier Frequency) ที่ 134.2 kHz โดยรับส่งข้อมูลในช่วงระยะไม่เกิน 1 เมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำให้เจ้าของฟาร์มสามารถตรวจสอบได้ทันที หากวัวกลับมาไม่ครบ โดยดูจากเลข ID ที่หายไปนั้นเอง  ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SIC) เป็นผู้ออกแบบและจำหน่ายไมโครชิพสำหรับป้ายระบบลงทะเบียนสัตว์ (Animal Identification Tags) หรือป้ายทะเบียนสัตว์อิเล็กทรอนิกส์ มาอย่างต่อเนื่องกว่า 18 ปี ด้วยจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ “SIC278” ได้แก่ ระยะในการสื่อสารที่ไกลกว่าคู่แข่งในเชิงเปรียบเทียบกว่า 10% และสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด ทำให้คู่ค้าของบริษัทที่นำผลิตภัณฑ์ไปใช้สามารถนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพที่โดดเด่น ในต้นทุนที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้  โดยประโยชน์ของการใช้งานของ Animal Tag หรือ Animal ID ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ครั้งหน้าเราจะพูดถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในอีกรูปแบบสำหรับฟาร์มปศุสัตว์กันต่อ โปรดติดตามกันด้วยนะครับ 

Read more...
RFID-reader-toys-games

เมื่อ RFID Reader อยู่ในเกมส์และของเล่น แล้ว RFID มีบทบาท และการทำงานได้อย่างไร?

ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SIC) เป็นผู้ออกแบบ พัฒนา และจำหน่ายไมโครชิพซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือชิพสำหรับระบบการอ่านข้อมูล ที่รองรับกับมาตรฐานสากลและสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องอ่านสำหรับระบบอุตสาหกรรม (Industrial) เพื่อใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าในสายการผลิต และเครื่องอ่านสำหรับระบบของเล่น (Smart Toys and Games) เพื่อใช้เชื่อมต่อชิ้นของเล่นกับหน้าจอแสดงผลต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้เล่น เป็นต้น https://youtu.be/R4HxdMwMJs0 โดยวิดีโอนี้จะแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องอ่าน RFID ในเกมส์และของเล่น โดยในเครื่องอ่านที่เห็นจะถูกฝังด้วยไมโครชิพ RFID (RE41) ของเรา ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากการ์ด แปลงข้อมูล และแสดงผลในหน้าจอ ซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของการใช้งานเท่านั้น เทคโนโลยี RFID ยังอยู่รอบตัวเราอีกมากมาย หลักการและการทำงานของ RFID Reader Radio Frequency Identification...

Read more...
Manop-SICT-Forbes-Thailand

มานพ ธรรมสิริอนันต์ ชิปสัญชาติไทย สื่อไกลทั่วโลก

เจาะลึกเส้นทางชีวิต การดำเนินธุรกิจ และเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี RFID ของคนไทยให้ก้าวไกลไปสู่ระดับสากล กับบทสัมภาษณ์สุดพิเศษ คุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SICT ความตั้งใจของเขาที่ค้นพบตัวเองตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่งจบปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์สาขาออกแบบไมโครชิป สู่การทำงานกับบริษัทชั้นนำใน Silicon Valley สหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงกลับมาประเทศไทยเพื่อสร้างความฝันให้เป็นที่ประจักษ์ เกิดเป็น ซิลิคอน คราฟท์ฯ บริษัทของคนไทยที่ผลิตไมโครชิปจำหน่ายไปทั่วโลก SICT ดำเนินธุรกิจออกแบบและจำหน่ายวงจรรวม (Integrated Circuit Design: IC) หรือ ไมโครชิป RFID (Radio Frequency Identification) จัดเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ...

Read more...
car-immobilizer-RFID

ระบบ Immobilizer คืออะไร? ปลอดภัยจริงหรือ?

ในปัจจุบันระบบ Immobilizer ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก ระบบ Immobilizer หรือระบบกุญแจอัจฉริยะสำหรับยานยนต์ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจรกรรม ถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่รถยนต์ทุกคันควรจะต้องมี โดยระบบนี้อาศัยเทคโนโลยีบ่งชี้อัตลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ (RFID: Radio Frequency Identification) ในการสื่อสารกันระหว่าง 2 ส่วนคือ กล่องควบคุมระบบรถยนต์ (ECU: Electronic Control Unit) เป็นหน่วยในการควบคุมระบบต่างๆ ของรถยนต์กุญแจ (Transponder) โดยกุญแจจะประกอบด้วยไมโครชิพ RFID ซึ่งไมโครชิพจะถูกต่อเข้ากับสายอากาศและทำหน้าที่ส่งสัญญาณ โดยสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ การทำงานของระบบ Immobilizer เกิดจากการทำงานร่วมกันของ 2 ส่วนนี้ เมื่อผู้ใช้งานหรือเจ้าของเสียบกุญแจเข้าไปแล้วทำการสตาร์ทรถ ระบบ Immobilizer จะเริ่มทำงานทันที โดยหน่วยควบคุมเครื่องยนต์ที่อยู่ในรถจะส่งสัญญาณวิทยุมาหาที่กุญแจ จากนั้นไมโครชิพที่อยู่ในกุญแจจะแปลงพลังงานวิทยุมาเป็นพลังงานในตัวเอง และส่งสัญญาณกลับไปเพื่อทำการยืนยันตัวตน โดยหน่วยควบคุมเครื่องยนต์จะยอมให้เครื่องยนต์สตาร์ทได้...

Read more...

“ซิลิคอนคราฟท์”ไมโครชิพสัตว์ สู่…ดิจิทัล เฮลท์แคร์

มานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานด้านการออกแบบไมโครชิพใน ซิลิคอน วัลเลย์ มากว่า 12 ปีจนกระทั่งกลับเมืองไทยได้รวมตัวกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวงจรรวม เปิดบริษัทออกแบบไมโครชิพภายใต้แบรนด์ ซิลิคอน คราฟท์ โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาไมโครชิพสำหรับส่งสัญญาณบนคลื่นวิทยุ (RFID : Radio Frequency Identification) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเพื่อเป็นต้นแบบเริ่มจากรับผลิตให้กับโครงการของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการไมโครชิพในสัตว์เลี้ยง รวมทั้งสัตว์จากปศุสัตว์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มานพ ระบุว่า ไมโครชิพ ใน 3 กลุ่มแรกเป็นโมเดลที่รองรับอุตสาหกรรมแบบดั่งเดิม ส่วนไมโครชิพกลุ่มที่ 4 จะเป็น ‘นิว เอสเคิร์ฟ’ ที่เกาะติดกับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์...

Read more...
รุกดิจิทัลเฮลท์ เดินหน้า IPO

“ซิลิคอน คราฟท์”​ ตั้งเป้ารุกธุรกิจดิจิทัล เฮลท์

ซิลิคอน คราฟท์ บริษัทคนไทยที่วิจัยพัฒนาไมโครชิปตระกูล RFID (Radio Frequency Identification) ใช้กับอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ กุญแจรถยนต์ มีลูกค้าจากหลายประเทศทั่วโลก เตรียมรุกธุรกิจเทคโนโลยีด้านสุขภาพและเกษตร มากขึ้น พร้อมเข้าตลาดหลักสร้างความมั่นคงของธุรกิจ และให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ในอนาคตทุกอย่างจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ คลาวด์ มากขึ้น โดยใช้มือถือเป็นตัวเชื่อมต่อ ขณะเดียวกันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เรื่องสุขภาพได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่ง NFC จะเร่งการเติบโตได้เร็ว โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นเซอร์ที่ทำให้บริการทางการแพทย์เข้าถึงได้โดยไม่ต้องไปโรงพยายาล สามารถรีโมทเข้ามาได้ ส่งค่าเบื้องต้นบางอย่างได้จากเซ็นเซอร์วัดค่าเคมีต่าง ๆ ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจโควิด-19...

Read more...

ความพร้อมของ DeepTech ด้านการแพทย์ เมื่อประเทศไทยจะก้าวสู่สังคม Smart Health ในโลกหลัง COVID-19

โดย คุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในเชิงพฤติกรรมประชาชน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและสุขอนามัยทั้งของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น รวมทั้งการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีผ่านระบบออนไลน์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ และสุขภาพในอนาคต  วิกฤติครั้งนี้ ยังเป็นตัวเร่งในการเปลี่ยนแปลงทุกมิติของชีวิต และ เทคโนโลยี  รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เฉพาะการพัฒนาวัคซีนหรือตัวยาสำหรับการรักษาที่ร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น แต่ยังรวมถึงการเร่งพัฒนา และผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือการทำงานด้านวงการแพทย์มากยิ่งขึ้น เพื่อตอบรับกับวิถี New Normal ของสังคมไทยหลังวิกฤติโรคระบาด ในส่วนของโรงพยาบาลต่างๆ ก็ได้มีการปรับตัวสำหรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตด้วยการลงทุนและสร้างระบบ Telemedicine เพื่อให้บริการแบบ Real Time Consultation ผ่านสมาร์ทโฟนแทนการลงทุนด้านการขยายพื้นที่ แต่ให้บริการแบบเดิมๆ  สามารถอ่านต่อได้ที่: https://techsauce.co/exec-insight/silicon-craft-deep-tech-digital-health

Read more...