Author - Pawan Prasopmanachai

nfc-boi-sic

กิจกรรมพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี

ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี ในหัวข้อ "สร้างโอกาส พัฒนา ต่อยอดศักยภาพอุตสาหกรรมไทยกับการใช้เทคโนโลยี NFC" สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/WkLc2ShGbpGq3eg86

Read more...
Animal

“SIC278” ไมโครชิพความถี่ต่ำอัจฉริยะ กับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม

บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาและออกแบบไมโครชิพที่ใช้สำหรับการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ (RFID) โดยทำมาอย่างต่อเนื่องให้สามารถใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งไมโครชิพที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้คือ ไมโครชิพ “SIC278” SIC278 เป็นไมโครชิพที่ใช้เพื่อการระบุตัวตน โดยทำงานในคลื่นวิทยุย่านความถี่ต่ำ (LF) 100 – 150 kHz ซึ่งความพิเศษคือการที่ตัวอ่าน (Reader) สามารถรับข้อมูลจากไมโครชิพนี้ได้ไกลมากกว่า 100 เซนติเมตร* เป็นผลมากจากเทคโนโลยีการออกแบบเฉพาะของบริษัทฯ อีกทั้งยังมีหน่วยความจำที่มีขนาดมากถึง 1184 บิท เพื่อใช้สำหรับการจัดเก็บหมายเลขระบุตัวตน และข้อมูลอื่นๆ ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแก้ไขค่าตัวเก็บประจุเรโซแนนท์ ผ่านการสื่อสารกันทางอากาศระหว่างตัวอ่านกับ SIC278 ได้อีกด้วย ทั้งนี้การปรับแก้ไขจะช่วยเพิ่มระยะการอ่านให้ได้ไกลมากขึ้น ในด้านของระบบความปลอดภัยและมาตรฐาน ไมโครชิพ SIC278 สามารถตั้งค่าการเข้ารหัสผ่านได้ถึงสองชั้น...

Read more...
EMV-Reader-Payment

ธุรกรรมปลอดภัย ไว้วางใจชิพการ์ด EMV

ชิพการ์ด (Chip Card) หรือ สมาร์ทการ์ด (Smart Card) คือ บัตรที่ฝังไมโครชิพไว้สำหรับเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยจะอยู่ในรูปแบบบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ภายในชิพจะมีหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลที่ช่วยให้เราสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น โดยไมโครชิพนั้นจะใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากลที่มีการใช้ทั่วโลกนั่นก็คือ “EMV”  EMV ย่อมาจาก Europay, MasterCard และ Visa ซึ่งเป็นเน็ตเวิร์คการเงินชั้นนำของโลก โดย EMV คือมาตรฐานของการชำระเงินที่มีความปลอดภัยและสามารถใช้งานร่วมกันได้ทั่วโลก เป็นมาตรฐานที่ถูกนำไปใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบและใช้งานบัตร เช่น บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต กับ เครื่องอ่าน เครื่องรับชำระเงิน หรือ เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ รวมถึงการสื่อสาร ชุดคำสั่ง และการจัดการข้อมูลอีกด้วย  ปัจจุบันมาตรฐานนี้ได้ถูกดูแลโดย Visa, Mastercard, JCB, American Express, UnionPay และ Discover รวมเรียกว่า EMVCo ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดการและกำหนดข้อกำหนดต่างๆ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการรองรับอุปกรณ์ โดยอุปกรณ์ต้องผ่านการทดสอบจึงจะได้รับมาตรฐานนี้ ในการทดสอบ EMV Certification ประกอบด้วย 3 ระดับคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และแอปพลิเคชั่น  โดย SIC ได้ออกผลิตภัณฑ์ RA12 ซึ่งเป็นไมโครชิพ RFID สำหรับเครื่องอ่านมาตั้งแต่ปี 2019 ในขณะนี้ RA12 กำลังอยู่ในกระบวนการทดสอบ EMV ระดับ 1 ฮาร์ดแวร์ ซึ่งคาดว่าในเร็วๆนี้ RA12 ชิพสัญชาติไทยของเรา จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอ่านสำหรับการชำระเงินได้ รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้บริษัทและนักพัฒนาทั่วไปได้ออกแบบและพัฒนาไมโครชิพนี้ต่อไปในระดับ 2 และ 3 

Read more...
SIC-HF-UHF

HF หรือ UHF ตัวไหนที่เหมาะใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ

เทคโนโลยีบ่งชี้อัตลักษณ์ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม จึงทำให้มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ในการเลือกใช้งาน RFID นั้น จะต้องเลือกย่านความถี่ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและปัญหาของแต่ละแอปพลิเคชัน โดยย่านความถี่สูงถือเป็นย่านที่มีการถูกใช้งานเป็นอย่างมาก  ความถี่พาหะ (Carrier Frequency) ของย่านความถี่สูงที่มีการใช้งานประกอบด้วย ความถี่สูง (High Frequency; HF) จะใช้ความถี่อยู่ที่ 13.56 MHz และ ความถี่สูงมาก (Ultra-High Frequency; UHF) จะใช้ความถี่ 2 ช่วงคือ 433 MHz หรือ 860 – 960 MHz ช่วงความถี่ที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลต่อทั้งความเร็วในการสื่อสาร ระยะทางที่สามารถสื่อสารได้ รวมทั้งความสามารถในการสื่อสารผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ ซึ่งจะเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งความถี่สูง ความเร็วและระยะทางในการสื่อสารก็จะสูงตามไปด้วย แต่ก็ทำให้ได้รับผลกระทบจากสิ่งกีดขวางมากขึ้นด้วยเช่นกัน รวมไปถึงปัญหาการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ ซึ่งแม้ว่าน้ำจะมีสภาพความนำไฟฟ้าต่ำ แต่ก็ส่งผลต่อการใช้งาน RFID ที่ความถี่สูงมากๆ อย่าง UHF ได้ชัดเจน ยิ่งถ้าน้ำนั้นมีปริมาณแร่ธาตุและเกลือแร่สูง จะทำให้สภาพการนำไฟฟ้าสูงขึ้น และจะยิ่งทำให้ UHF ได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย  ดังนั้นการใช้งาน RFID ในย่าน HF จึงเหมาะสมและตอบโจทย์การใช้งานกับแอปพลิเคชันที่มีน้ำเข้ามาเป็นส่วนประกอบ รวมไปถึงคุณสมบัติต่างๆ ของ HF ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในไลน์การผลิตเครื่องดื่ม หรือ กระบวนการซักรีด การนำคุณสมบัติป้องกันการชนของข้อมูล (Anti-Collision) ของ HF มาใช้ จะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้ครั้งละหลายๆ ตัว นอกจากจะทราบและบันทึกข้อมูลได้ตลอดแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มเวลาสำหรับการดำเนินการส่วนนี้ จึงสามารถรักษาความเร็วได้เหมือนการผลิตโดยปกติ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน  นอกจากนี้ ด้วยระยะการอ่านของ HF ที่ไม่ไกลเกินไป...

Read more...
TechExEurope-SIC

พบกับ SIC ได้ที่นิทรรศการออนไลน์ TechEx Europe

TechEx Europe เป็นนิทรรศการและงานสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยประกอบด้วยเทคโนโลยี 4 ส่วนคือ IoT, AI & Big Data, Cyber Security & Cloud, และ Blockchain โดยงานนี้จะจัดรูปแบบออนไลน์ในวันที่ 23-26 พฤศจิกายน 2563 นี้ โดย SIC ได้เข้าร่วมงานนี้เพื่อแสดงนวัตกรรมไมโครชิป RFID ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งานได้กับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และการจัดการข้อมูลมหาศาล (AI & Big Data) แล้วมาพบกับพวกเราและนวัตกรรมสุดล้ำที่งานนี้กันนะครับ

Read more...
SIC-NSTDA-1

สายรัดข้อมือ (NFC Wristband) จากซิลิคอน คราฟท์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563 โดยในงานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมและความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย เพื่อสร้างความรู้ แรงบันดาลใจ และทักษะสุดล้ำให้กับทุกคน  ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสายรัดข้อมือ (NFC Wristband) เพื่อใช้สำหรับติดตามผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือผู้กักตัวในระหว่างกระบวนการกักกันตนเอง (Self-Quarantine) ที่พัฒนาจากไมโครชิป SIC43NT ของบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ถูกจัดแสดงร่วมภายในบูธของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เนื่องจากสายรัดข้อมือต้นแบบเป็นความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างบริษัทฯ และ สวทช. ถือเป็นนวัตกรรมตัวหนึ่งที่ช่วยป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้  สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชม สามารถเข้าชมได้ที่ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันนี้ - 23 พ.ย. นี้http://www.thailandnstfair.com/ 

Read more...
Automotive-PKE

เข้าออกรถปลอดภัย ไม่ต้องใช้กุญแจ ด้วยเทคโนโลยี Passive Keyless Entry

จากบล็อกก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึงระบบกุญแจรีโมท หรือ RKE ไปแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการเข้ารถที่ไม่ต้องใช้กุญแจไข (Keyless Entry System) เป็นระบบที่อาศัยคลื่นวิทยุในการสื่อสารเพื่อล็อกและปลดล็อกรถ รวมไปถึงสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยในบางคัน โดยระบบการเข้ารถนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือ Active และ Passive ซึ่ง RKE ที่กล่าวไปแล้วเป็นระบบแบบ Active ในบล็อกนี้เราจึงจะมาอธิบายเกี่ยวกับระบบ Passive หรือ Passive Keyless Entry (PKE)   Passive Keyless Entry (PKE) คืออะไร  จากชื่อของระบบคือ ‘Passive’ หมายความว่า ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรนั่นเอง โดยระบบ PKE เป็นระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับพาหนะและยานยนต์ ซึ่งสามารถทำงานได้อัตโนมัติ เพียงแค่เจ้าของรถมีกุญแจ และอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับตัวรถ โดยเจ้าของไม่ต้องกด หรือ หยิบกุญแจออกมาจากกระเป๋า ก็สามารถปลดล็อกและเข้ารถได้ รวมถึงเมื่อออกจากรถแล้ว และเดินห่างออกมา รถจะทำการล็อกได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากระบบแบบ Active หรือ RKE ที่ต้องมีการหยิบกุญแจออกมาเพื่อกดปุ่มล็อกหรือปลดล็อกรถ โดยระบบ PKE ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ กุญแจ (Key fob) และ โมดูลหรือตัวรับและอ่านสัญญาณในรถ (Vehicle module) อุปกรณ์ทั้ง 2 ส่วนสื่อสารกันแบบไร้สายผ่านคลื่นวิทยุ เมื่อโมดูลตรวจพบกุญแจอยู่ในระยะใกล้เคียง โมดูลจะทำการส่งสัญญาณมาหากุญแจ หากสัญญาณที่ส่งมามีรหัสที่ตรวจสอบถูกต้องและตรงกับกุญแจ รถจึงจะถูกปลดล็อกโดยอัตโนมัติ กล่าวง่ายๆ ก็คือ ระบบต้องตรวจสอบรหัสระหว่างกุญแจกับตัวรถก่อน เมื่อรหัสนั้นถูกต้อง รถจึงจะปลดล็อก  อย่างไรก็ตาม ระบบ PKE จำเป็นต้องมี Rolling Code หรือรหัสที่เปลี่ยนไปทุกครั้ง เพื่อป้องกันการดักสัญญาณจากกุญแจ (Replay Attack) โดยรหัสนี้จะสื่อสารได้เฉพาะกับรถและกุญแจของจริงเท่านั้น ถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยอีกขั้นให้กับผู้ใช้รถ...

Read more...
Animal ID

สัตว์ในฟาร์มกำลังป่วย เราจะรู้ได้อย่างไร

จากบทความครั้งก่อน เราได้กล่าวถึง Animal Identification Tag หรือ Animal ID ว่าคืออะไร และถูกนำมาใช้งานอย่างไรไปในเบื้องต้นแล้ว ในครั้งนี้เราจะมายกตัวอย่างการใช้งานและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อการจัดการและบริหารดูแลฟาร์มปศุสัตว์ให้ได้ดียิ่งขึ้น  ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ในสัตว์ต่างๆ เช่น วัว แพะ หรือ แกะ มักมีอาการป่วยได้ง่าย เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แข็งแรงของร่างกาย หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อใดๆ เป็นต้น โดยการป่วยของสัตว์เพียงหนึ่งตัวนั้น อาจมีการแพร่เชื้อและลุกลามไปยังตัวอื่นๆ ได้ และอาจทำให้สัตว์ทั้งหมดในฟาร์มป่วย ดังนั้นการติดตามสัตว์และป้องกันกระจายของเชื้อจึงเป็นเรื่องสำคัญ  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วย  เราสามารถทราบได้ว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วยหรือไม่ ทำได้ด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถวัดอุณหภูมิของสัตว์ได้ตลอดเวลา เราจึงอาศัยการสังเกตจากพฤติกรรมของสัตว์ โดยพบว่าหากสัตว์มีอาการป่วยหรือไม่สบาย จะมีการกินอาหารที่น้อยลงผิดปกติ ซึ่งสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า สัตว์ตัวนั้นกำลังป่วยอยู่   Animal Tag จะช่วยได้อย่างไร  การที่สัตว์ทุกตัวในฟาร์มมีการติดตั้ง Animal Tag (RFID) ทำให้เราสามารถระบุตัวตนและแยกความแตกต่างของสัตว์แต่ละตัวได้จาก ID (Identification) โดยการตรวจสอบว่าสัตว์ป่วยหรือไม่นั้น ทำได้ด้วยการติดตั้งเครื่องอ่านแท็ก (RFID Reader) ไว้บริเวณรางให้อาหารสัตว์ เมื่อสัตว์เดินมากินอาหาร แท็กกับเครื่องอ่านจะสื่อสารกันด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency; RF) ที่ความถี่ต่ำ 134.2 kHz เพื่อเป็นการเก็บและบันทึกข้อมูล (ID) ของสัตว์ตัวนั้นๆ ถึงพฤติกรรมการกินอาหาร ว่ามีการกินอาหารบ่อยแค่ไหน หากความถี่ในการกินอาหารน้อยผิดปกติ ระบบจะทำการแจ้งเตือน เพื่อให้เราสามารถเข้าไปตรวจสอบอาการของสัตว์ที่ป่วยได้อย่างถูกตัวตาม ID และทำการแยกสัตว์ตัวนั้นออกมา เพื่อป้องการแพร่กระจายของเชื้อ และรักษาอาการต่อไป  บมจ.ซิลิคอน...

Read more...
Reader-smartlock-banner

บ้านปลอดภัย ด้วยระบบล็อกประตูอัจฉริยะ (Smart Lock)

ในยุคดิจิทัลนี้ เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนกันรายนาที พร้อมกับการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน และเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ในขณะเดียวกันบางสิ่งก็เข้ามาแทนที่กับสิ่งที่เคยมีมา เป็นการตอบสนองต่อความต้องการอย่างไร้ขีดจำกัดของมนุษย์ ทั้งในด้านความสะดวกสบาย ความทันสมัย ความฉลาด และความปลอดภัย  Smart Lock หรือระบบล็อกอัจฉริยะ คือเทคโนโลยีหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และความมั่นใจให้กับการล็อกประตู เพื่อแทนที่การใช้งานแบบเดิมๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์การใช้งานในยุคปัจจุบันอีกต่อไป อย่างเช่น ระบบล็อกธรรมดาแบบไขกุญแจ ระบบล็อกรหัสแบบหมุน หรือแม้กระทั่งระบบรหัสอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่ระบบเหล่านี้ ล้วนถือเป็นต้นกำเนิดของ Smart Lock  Smart Lock เป็นระบบล็อกเครื่องกลไฟฟ้า ใช้การสื่อสารแบบไร้สายหรือเทคโนโลยี RFID และมีการเข้ารหัส เพื่อให้สามารถล็อกและปลดล็อกประตูได้ โดยระบบล็อกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เครื่องอ่าน (ตัวล็อก) และกุญแจ โดยกุญแจนี้ไม่ใช่กุญแจแบบทั่วไป แต่อาจจะเป็นในรูปแบบของการ์ด (RFID tag) หรือสมาร์ทโฟนนั่นเอง ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องพกพากุญแจ ก็สามารถเข้าออกได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถตรวจเวลาการเข้าออก และการแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆ จากสมาร์ทโฟนได้เช่นกัน  แต่สำหรับเครื่องอ่าน (ตัวล็อก) ก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานเช่นกัน คือ การกินพลังงานสูง โดยระบบล็อกประตูจำเป็นต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เท่านั้น ทำให้การใช้งานเครื่องอ่านสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นเหตุให้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่อยู่บ่อยครั้ง  SIC จึงเล็งเห็นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหานี้ เกิดเป็นไมโครชิพสำหรับเครื่องอ่าน “RA12” ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยประหยัดพลังงาน คือ Card Detection Mode โดยมีหลักการทำงานสำคัญ ทุกครั้งเมื่อเราต้องการเข้าออก เราจะต้องใช้การ์ด (RFID tag) หรือ โทรศัพท์มือถือ แตะที่เครื่องอ่านเพื่อล็อกหรือปลดล็อกประตู...

Read more...
NFC-anti-counterfeiting

การประยุกต์ใช้ NFC เพื่อป้องกันการปลอมแปลงสินค้า

ปัจจุบันผู้คนหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เจ้าของสินค้าไม่จำเป็นต้องพบเจอหน้าลูกค้าในการขายสินค้าอีกต่อไป เพียงแค่ใช้ช่องทางออนไลน์ก็สามารถสื่อสารคุณสมบัติต่าง ๆ ของสินค้า พร้อมพูดคุยโต้ตอบกันได้เสมือนเจอหน้ากัน อีกทั้งยังเข้าถึงจำนวนผู้ซื้อได้มากขึ้นอีกด้วย ในมุมมองของผู้บริโภคเองการใช้ช่องทางออนไลน์ก็ทำให้การซื้อของมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น  แต่ก็มีข้อกังขาเรื่องของที่มาของสินค้ากันอยู่บ้างว่าสินค้าที่ซื้อ-ขายกันอยู่นั้นผลิตโดยเจ้าของผู้ผลิตที่ต้องการจริงๆหรือไม่ ในเมื่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรายย่อยอาจไม่เคยได้สัมผัสหรือแม้แต่เห็นสินค้าของจริงก่อนชำระเงินเลยด้วยซ้ำ เหตุนี้เองสินค้าลอกเลียนแบบมักสร้างมูลค่าความเสียหายจำนวนมากต่อทั้งผู้ผลิต ผู้ขายรายย่อยและผู้บริโภค จึงทำให้เกิดหลากหลายวิธีการที่ถูกนำมาใช้เพื่อทำให้สินค้านั้นสามารถถูกตรวจสอบได้ว่าเป็นของแท้ เช่น Serial Number, Barcode หรือ QR Code แต่วิธีเหล่านี้ ยังคงมีโอกาสที่จะถูกลอกเลียนแบบและทำซ้ำได้ไม่ยากลำบาก จึงยังไม่สามารถป้องกันของปลอมได้อย่างแท้จริง หนึ่งในเทคโนโลยีที่จะช่วยให้สินค้าได้รับการยืนยันได้ว่าเป็นของแท้ และเป็นวิธีการที่ไม่สามารถคัดลอก เลียนแบบ หรือนำมาทำซ้ำโดยผู้ที่มีเจตนาต้องการปลอมแปลงสินค้าได้ ซึ่ง SIC ได้นำวิธีการสำคัญนั้นมาเป็นคุณสมบัติพิเศษในไมโครชิป NFC รุ่นหนึ่งที่มีเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า “Rolling Code” วันนี้เองเราจะนำเสนอวิธีการทำงานของคุณสมบัติพิเศษนี้ให้เข้าใจมากขึ้น “Rolling Code” มีขั้นตอนการทำงานโดยสังเขปดังนี้ UID (Unique Identifier) ของ chip ตัวนั้นๆ...

Read more...