Tag - production line

SIC-HF-UHF

HF หรือ UHF ตัวไหนที่เหมาะใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ

เทคโนโลยีบ่งชี้อัตลักษณ์ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม จึงทำให้มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ในการเลือกใช้งาน RFID นั้น จะต้องเลือกย่านความถี่ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและปัญหาของแต่ละแอปพลิเคชัน โดยย่านความถี่สูงถือเป็นย่านที่มีการถูกใช้งานเป็นอย่างมาก  ความถี่พาหะ (Carrier Frequency) ของย่านความถี่สูงที่มีการใช้งานประกอบด้วย ความถี่สูง (High Frequency; HF) จะใช้ความถี่อยู่ที่ 13.56 MHz และ ความถี่สูงมาก (Ultra-High Frequency; UHF) จะใช้ความถี่ 2 ช่วงคือ 433 MHz หรือ 860 – 960 MHz ช่วงความถี่ที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลต่อทั้งความเร็วในการสื่อสาร ระยะทางที่สามารถสื่อสารได้ รวมทั้งความสามารถในการสื่อสารผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ ซึ่งจะเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งความถี่สูง ความเร็วและระยะทางในการสื่อสารก็จะสูงตามไปด้วย แต่ก็ทำให้ได้รับผลกระทบจากสิ่งกีดขวางมากขึ้นด้วยเช่นกัน รวมไปถึงปัญหาการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ ซึ่งแม้ว่าน้ำจะมีสภาพความนำไฟฟ้าต่ำ แต่ก็ส่งผลต่อการใช้งาน RFID ที่ความถี่สูงมากๆ อย่าง UHF ได้ชัดเจน ยิ่งถ้าน้ำนั้นมีปริมาณแร่ธาตุและเกลือแร่สูง จะทำให้สภาพการนำไฟฟ้าสูงขึ้น และจะยิ่งทำให้ UHF ได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย  ดังนั้นการใช้งาน RFID ในย่าน HF จึงเหมาะสมและตอบโจทย์การใช้งานกับแอปพลิเคชันที่มีน้ำเข้ามาเป็นส่วนประกอบ รวมไปถึงคุณสมบัติต่างๆ ของ HF ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในไลน์การผลิตเครื่องดื่ม หรือ กระบวนการซักรีด การนำคุณสมบัติป้องกันการชนของข้อมูล (Anti-Collision) ของ HF มาใช้ จะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้ครั้งละหลายๆ ตัว นอกจากจะทราบและบันทึกข้อมูลได้ตลอดแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มเวลาสำหรับการดำเนินการส่วนนี้ จึงสามารถรักษาความเร็วได้เหมือนการผลิตโดยปกติ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน  นอกจากนี้ ด้วยระยะการอ่านของ HF ที่ไม่ไกลเกินไป...

Read more...