Tag - Covid-19

SIC-NSTDA-1

สายรัดข้อมือ (NFC Wristband) จากซิลิคอน คราฟท์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563 โดยในงานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมและความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย เพื่อสร้างความรู้ แรงบันดาลใจ และทักษะสุดล้ำให้กับทุกคน  ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสายรัดข้อมือ (NFC Wristband) เพื่อใช้สำหรับติดตามผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือผู้กักตัวในระหว่างกระบวนการกักกันตนเอง (Self-Quarantine) ที่พัฒนาจากไมโครชิป SIC43NT ของบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ถูกจัดแสดงร่วมภายในบูธของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เนื่องจากสายรัดข้อมือต้นแบบเป็นความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างบริษัทฯ และ สวทช. ถือเป็นนวัตกรรมตัวหนึ่งที่ช่วยป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้  สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชม สามารถเข้าชมได้ที่ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันนี้ - 23 พ.ย. นี้http://www.thailandnstfair.com/ 

Read more...
SIC-NFC

NFC เทคโนโลยีไร้สัมผัส กับการเติบโตในยุค COVID-19

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โลกของเราและประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยเทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่บางสิ่งบางอย่าง และมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สัมผัส หรือ Contactless Communication นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ปลุกกระแสในวงการไอที และมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดในหลายประเทศ โดยสามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและตอบสนองไลฟ์สไตล์อันเร่งรีบของวิถีชีวิตชาวเมืองได้เป็นอย่างดี  ในปี 2020 เกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างมากมายกว่า 1 ล้านรายทั่วโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาด คือต้องรักษาระยะห่างและลดการสัมผัสระหว่างบุคคล เป็นเหตุให้ Contactless Communication ถูกนำมาใช้งานมากกันอย่างแพร่หลาย โดยหนึ่งในการสื่อสารแบบไร้สัมผัสที่ได้รับความนิยมคือ เทคโนโลยี NFC นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยตรง จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนไปในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal NFC คืออะไร?   Near Field Communication (NFC) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในระยะใกล้แบบไร้สายชนิดหนึ่ง ที่ใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าวิทยุ ในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลระหว่าง “ตัวรับ” และ ”ตัวส่ง” โดยเทคโนโลยีนี้คือส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) เนื่องจากเป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุระบุตัวตนเช่นเดียวกัน ซึ่ง NFC นี้เอง จะใช้คลื่นพาหะ (Carrier Frequency) ความถี่สูงที่ 13.56 MHz และส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็ว 106 kbps ในช่วงระยะอ่าน 0-10 เซนติเมตร  โดยการใช้งาน NFC สามารถทำได้โดยง่าย เพียงแค่นำตัวอ่าน (Reader) หรือโทรศัพท์มือถือที่มีเทคโนโลยี NFC เข้าไปใกล้หรือแตะกับอุปกรณ์ที่มี NFC (NFC Device) จากนั้นอุปกรณ์ทั้งสองก็จะเชื่อมต่อและส่งถ่ายข้อมูลกันภายในระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 1-10 วินาที   โดยตัวอย่างของการใช้งาน NFC มีให้พบเห็นในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งด้านการเงิน การแพทย์ การขนส่งมวลชน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ของเล่น สินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยี NFC ยังถูกประยุกต์ใช้งานในอีกหลากหลายรูปแบบ ในโอกาสหน้าเราจะหยิบยกตัวอย่างอื่นๆ มานำเสนอเพิ่มเติม โปรดติดตามกันด้วยนะครับ 

Read more...
รุกดิจิทัลเฮลท์ เดินหน้า IPO

“ซิลิคอน คราฟท์”​ ตั้งเป้ารุกธุรกิจดิจิทัล เฮลท์

ซิลิคอน คราฟท์ บริษัทคนไทยที่วิจัยพัฒนาไมโครชิปตระกูล RFID (Radio Frequency Identification) ใช้กับอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ กุญแจรถยนต์ มีลูกค้าจากหลายประเทศทั่วโลก เตรียมรุกธุรกิจเทคโนโลยีด้านสุขภาพและเกษตร มากขึ้น พร้อมเข้าตลาดหลักสร้างความมั่นคงของธุรกิจ และให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ในอนาคตทุกอย่างจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ คลาวด์ มากขึ้น โดยใช้มือถือเป็นตัวเชื่อมต่อ ขณะเดียวกันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เรื่องสุขภาพได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่ง NFC จะเร่งการเติบโตได้เร็ว โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นเซอร์ที่ทำให้บริการทางการแพทย์เข้าถึงได้โดยไม่ต้องไปโรงพยายาล สามารถรีโมทเข้ามาได้ ส่งค่าเบื้องต้นบางอย่างได้จากเซ็นเซอร์วัดค่าเคมีต่าง ๆ ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจโควิด-19...

Read more...

ความพร้อมของ DeepTech ด้านการแพทย์ เมื่อประเทศไทยจะก้าวสู่สังคม Smart Health ในโลกหลัง COVID-19

โดย คุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในเชิงพฤติกรรมประชาชน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและสุขอนามัยทั้งของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น รวมทั้งการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีผ่านระบบออนไลน์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ และสุขภาพในอนาคต  วิกฤติครั้งนี้ ยังเป็นตัวเร่งในการเปลี่ยนแปลงทุกมิติของชีวิต และ เทคโนโลยี  รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เฉพาะการพัฒนาวัคซีนหรือตัวยาสำหรับการรักษาที่ร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้น แต่ยังรวมถึงการเร่งพัฒนา และผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือการทำงานด้านวงการแพทย์มากยิ่งขึ้น เพื่อตอบรับกับวิถี New Normal ของสังคมไทยหลังวิกฤติโรคระบาด ในส่วนของโรงพยาบาลต่างๆ ก็ได้มีการปรับตัวสำหรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตด้วยการลงทุนและสร้างระบบ Telemedicine เพื่อให้บริการแบบ Real Time Consultation ผ่านสมาร์ทโฟนแทนการลงทุนด้านการขยายพื้นที่ แต่ให้บริการแบบเดิมๆ  สามารถอ่านต่อได้ที่: https://techsauce.co/exec-insight/silicon-craft-deep-tech-digital-health

Read more...