Tag - RFID

SIC-HF-UHF

HF หรือ UHF ตัวไหนที่เหมาะใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ

เทคโนโลยีบ่งชี้อัตลักษณ์ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม จึงทำให้มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ในการเลือกใช้งาน RFID นั้น จะต้องเลือกย่านความถี่ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและปัญหาของแต่ละแอปพลิเคชัน โดยย่านความถี่สูงถือเป็นย่านที่มีการถูกใช้งานเป็นอย่างมาก  ความถี่พาหะ (Carrier Frequency) ของย่านความถี่สูงที่มีการใช้งานประกอบด้วย ความถี่สูง (High Frequency; HF) จะใช้ความถี่อยู่ที่ 13.56 MHz และ ความถี่สูงมาก (Ultra-High Frequency; UHF) จะใช้ความถี่ 2 ช่วงคือ 433 MHz หรือ 860 – 960 MHz ช่วงความถี่ที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลต่อทั้งความเร็วในการสื่อสาร ระยะทางที่สามารถสื่อสารได้ รวมทั้งความสามารถในการสื่อสารผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ ซึ่งจะเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งความถี่สูง ความเร็วและระยะทางในการสื่อสารก็จะสูงตามไปด้วย แต่ก็ทำให้ได้รับผลกระทบจากสิ่งกีดขวางมากขึ้นด้วยเช่นกัน รวมไปถึงปัญหาการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ ซึ่งแม้ว่าน้ำจะมีสภาพความนำไฟฟ้าต่ำ แต่ก็ส่งผลต่อการใช้งาน RFID ที่ความถี่สูงมากๆ อย่าง UHF ได้ชัดเจน ยิ่งถ้าน้ำนั้นมีปริมาณแร่ธาตุและเกลือแร่สูง จะทำให้สภาพการนำไฟฟ้าสูงขึ้น และจะยิ่งทำให้ UHF ได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย  ดังนั้นการใช้งาน RFID ในย่าน HF จึงเหมาะสมและตอบโจทย์การใช้งานกับแอปพลิเคชันที่มีน้ำเข้ามาเป็นส่วนประกอบ รวมไปถึงคุณสมบัติต่างๆ ของ HF ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในไลน์การผลิตเครื่องดื่ม หรือ กระบวนการซักรีด การนำคุณสมบัติป้องกันการชนของข้อมูล (Anti-Collision) ของ HF มาใช้ จะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้ครั้งละหลายๆ ตัว นอกจากจะทราบและบันทึกข้อมูลได้ตลอดแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มเวลาสำหรับการดำเนินการส่วนนี้ จึงสามารถรักษาความเร็วได้เหมือนการผลิตโดยปกติ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน  นอกจากนี้ ด้วยระยะการอ่านของ HF ที่ไม่ไกลเกินไป...

Read more...
TechExEurope-SIC

พบกับ SIC ได้ที่นิทรรศการออนไลน์ TechEx Europe

TechEx Europe เป็นนิทรรศการและงานสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยประกอบด้วยเทคโนโลยี 4 ส่วนคือ IoT, AI & Big Data, Cyber Security & Cloud, และ Blockchain โดยงานนี้จะจัดรูปแบบออนไลน์ในวันที่ 23-26 พฤศจิกายน 2563 นี้ โดย SIC ได้เข้าร่วมงานนี้เพื่อแสดงนวัตกรรมไมโครชิป RFID ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งานได้กับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และการจัดการข้อมูลมหาศาล (AI & Big Data) แล้วมาพบกับพวกเราและนวัตกรรมสุดล้ำที่งานนี้กันนะครับ

Read more...
Automotive-PKE

เข้าออกรถปลอดภัย ไม่ต้องใช้กุญแจ ด้วยเทคโนโลยี Passive Keyless Entry

จากบล็อกก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึงระบบกุญแจรีโมท หรือ RKE ไปแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการเข้ารถที่ไม่ต้องใช้กุญแจไข (Keyless Entry System) เป็นระบบที่อาศัยคลื่นวิทยุในการสื่อสารเพื่อล็อกและปลดล็อกรถ รวมไปถึงสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยในบางคัน โดยระบบการเข้ารถนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือ Active และ Passive ซึ่ง RKE ที่กล่าวไปแล้วเป็นระบบแบบ Active ในบล็อกนี้เราจึงจะมาอธิบายเกี่ยวกับระบบ Passive หรือ Passive Keyless Entry (PKE)   Passive Keyless Entry (PKE) คืออะไร  จากชื่อของระบบคือ ‘Passive’ หมายความว่า ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรนั่นเอง โดยระบบ PKE เป็นระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับพาหนะและยานยนต์ ซึ่งสามารถทำงานได้อัตโนมัติ เพียงแค่เจ้าของรถมีกุญแจ และอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับตัวรถ โดยเจ้าของไม่ต้องกด หรือ หยิบกุญแจออกมาจากกระเป๋า ก็สามารถปลดล็อกและเข้ารถได้ รวมถึงเมื่อออกจากรถแล้ว และเดินห่างออกมา รถจะทำการล็อกได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากระบบแบบ Active หรือ RKE ที่ต้องมีการหยิบกุญแจออกมาเพื่อกดปุ่มล็อกหรือปลดล็อกรถ โดยระบบ PKE ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ กุญแจ (Key fob) และ โมดูลหรือตัวรับและอ่านสัญญาณในรถ (Vehicle module) อุปกรณ์ทั้ง 2 ส่วนสื่อสารกันแบบไร้สายผ่านคลื่นวิทยุ เมื่อโมดูลตรวจพบกุญแจอยู่ในระยะใกล้เคียง โมดูลจะทำการส่งสัญญาณมาหากุญแจ หากสัญญาณที่ส่งมามีรหัสที่ตรวจสอบถูกต้องและตรงกับกุญแจ รถจึงจะถูกปลดล็อกโดยอัตโนมัติ กล่าวง่ายๆ ก็คือ ระบบต้องตรวจสอบรหัสระหว่างกุญแจกับตัวรถก่อน เมื่อรหัสนั้นถูกต้อง รถจึงจะปลดล็อก  อย่างไรก็ตาม ระบบ PKE จำเป็นต้องมี Rolling Code หรือรหัสที่เปลี่ยนไปทุกครั้ง เพื่อป้องกันการดักสัญญาณจากกุญแจ (Replay Attack) โดยรหัสนี้จะสื่อสารได้เฉพาะกับรถและกุญแจของจริงเท่านั้น ถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยอีกขั้นให้กับผู้ใช้รถ...

Read more...
Animal ID

สัตว์ในฟาร์มกำลังป่วย เราจะรู้ได้อย่างไร

จากบทความครั้งก่อน เราได้กล่าวถึง Animal Identification Tag หรือ Animal ID ว่าคืออะไร และถูกนำมาใช้งานอย่างไรไปในเบื้องต้นแล้ว ในครั้งนี้เราจะมายกตัวอย่างการใช้งานและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อการจัดการและบริหารดูแลฟาร์มปศุสัตว์ให้ได้ดียิ่งขึ้น  ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ในสัตว์ต่างๆ เช่น วัว แพะ หรือ แกะ มักมีอาการป่วยได้ง่าย เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความไม่แข็งแรงของร่างกาย หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อใดๆ เป็นต้น โดยการป่วยของสัตว์เพียงหนึ่งตัวนั้น อาจมีการแพร่เชื้อและลุกลามไปยังตัวอื่นๆ ได้ และอาจทำให้สัตว์ทั้งหมดในฟาร์มป่วย ดังนั้นการติดตามสัตว์และป้องกันกระจายของเชื้อจึงเป็นเรื่องสำคัญ  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วย  เราสามารถทราบได้ว่าสัตว์ตัวนั้นกำลังป่วยหรือไม่ ทำได้ด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถวัดอุณหภูมิของสัตว์ได้ตลอดเวลา เราจึงอาศัยการสังเกตจากพฤติกรรมของสัตว์ โดยพบว่าหากสัตว์มีอาการป่วยหรือไม่สบาย จะมีการกินอาหารที่น้อยลงผิดปกติ ซึ่งสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า สัตว์ตัวนั้นกำลังป่วยอยู่   Animal Tag จะช่วยได้อย่างไร  การที่สัตว์ทุกตัวในฟาร์มมีการติดตั้ง Animal Tag (RFID) ทำให้เราสามารถระบุตัวตนและแยกความแตกต่างของสัตว์แต่ละตัวได้จาก ID (Identification) โดยการตรวจสอบว่าสัตว์ป่วยหรือไม่นั้น ทำได้ด้วยการติดตั้งเครื่องอ่านแท็ก (RFID Reader) ไว้บริเวณรางให้อาหารสัตว์ เมื่อสัตว์เดินมากินอาหาร แท็กกับเครื่องอ่านจะสื่อสารกันด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency; RF) ที่ความถี่ต่ำ 134.2 kHz เพื่อเป็นการเก็บและบันทึกข้อมูล (ID) ของสัตว์ตัวนั้นๆ ถึงพฤติกรรมการกินอาหาร ว่ามีการกินอาหารบ่อยแค่ไหน หากความถี่ในการกินอาหารน้อยผิดปกติ ระบบจะทำการแจ้งเตือน เพื่อให้เราสามารถเข้าไปตรวจสอบอาการของสัตว์ที่ป่วยได้อย่างถูกตัวตาม ID และทำการแยกสัตว์ตัวนั้นออกมา เพื่อป้องการแพร่กระจายของเชื้อ และรักษาอาการต่อไป  บมจ.ซิลิคอน...

Read more...
SIC-EE-Chula

ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาวิศวะไฟฟ้า จุฬาฯ

ดร.บดินทร์ เกษมเศรษฐ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับคณาจารย์ และคณะนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัทฯ และศึกษานวัตกรรมใหม่ในการคิดค้นและพัฒนาไมโครชิพ RFID สำหรับภาคธุรกิจที่ผลิตสินค้าและใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

Read more...
Automotive-RKE

เข้า(รถ)ได้ ไม่ต้องไข กับเทคโนโลยี Remote Keyless Entry

ระบบกุญแจ Keyless หรือระบบกุญแจที่ไม่ต้องใช้การ เสียบ บิด และไข  แท้จริงแล้วคือออีกหนึ่งเทคโนโลยี Radio Frequency Identification หรือ RFID ประเภทหนึ่ง เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุในการระบุตัวตน ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ได้แก่บัตรเข้าคอนโด, บัตรรถไฟฟ้า, บัตรจอดรถ, และอื่นๆ อีกมากมาย และที่พบเห็นอย่างมากคือ ยานพาหนะและรถยนต์ (Automotive) จากบล็อกก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึง ระบบกุญแจอัจฉริยะสำหรับยานยนต์ หรือ Immobilizer ไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาอธิบายระบบกุญแจรถยนต์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นระบบที่มีการประยุกต์ใช้งานร่วมกันกับ Immobilizer เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถและป้องกันการโจรกรรม นอกเหนือไปกว่านั้น ระบบนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถได้เป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นเทคโนโลยีหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับรถยนต์สมัยใหม่ นั่นคือ กุญแจรีโมท (Remote Keyless Entry: RKE)  Remote Keyless Entry หรือ RKE คืออะไร? ระบบกุญแจรีโมท หรือที่รู้จักกันในชื่อ “RKE” คือ ระบบหรือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน รวมไปถึงยานพาหนะ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กุญแจไข ซึ่งระบบนี้มักถูกใช้กับรถยนต์ เพื่อใช้เปิด-ปิด ประตูรถ ฝากระโปรงรถ รวมถึงสามารถสั่งการทำงานอุปกรณ์ภายในของรถยนต์ได้จากระยะไกล  เมื่อต้องการใช้งาน ผู้ใช้เพียงแค่กดปุ่มตัวรีโมท จากนั้นตัวรีโมทจะทำการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก (UHF) ไปยังตัวรถที่มีการติดตั้งตัวรับสัญญาณ ระยะการทำงานของรีโมทนั้น สามารถทำงานได้ตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป หรืออาจจะสูงมากถึง 100 เมตรเลยทีเดียว ซึ่งย่านความความถี่สูงนี้จะมีการใช้งานใน 3 ช่วงความถี่ ได้แก่ 315 MHz, 433 MHz, และ 868 MHz โดยในประเทศไทย ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเชีย จะใช้ความถี่ย่าน 433 MHz เป็นหลัก  ระบบกุญแจ RKE มักถูกใช้งานในการเข้าถึง ปลดล็อกหรือล็อกประตูรถยนต์ เป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยถูกใช้งานในการสตาร์ทรถหรือเครื่องยนต์มากนัก เนื่องจากระบบ RKE เป็นการสื่อสารทางเดียว คือ ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุจากตัวรีโมทไปยังรถยนต์เท่านั้น  อย่างไรก็ตาม...

Read more...
iOS14-NFC

iOS 14 ที่มาพร้อมกับระบบ NFC App Clips

ประสบการณ์การใช้งาน iPhone ในรูปแบบใหม่ กับหลากหลายฟังก์ชันที่ทาง Apple ได้อัพเดทมาพร้อมกับ iOS 14 ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอโฮมพร้อมวิดเจ็ตที่ออกแบบใหม่อย่างสวยงาม, คลังแอป (App Library), NFC Tag Reader, และรวมถึงวิธีใหม่ในการใช้แอปด้วย App Clips  แอปพลิเคชันใหม่ๆ ได้เกิดขึ้นในทุกวัน ทำให้ App Store ในปัจจุบัน มีแอปพลิชันอยู่มากมายกว่า 2 ล้านแอปพลิเคชัน ด้วยคุณสมบัติ App Clips ของ iOS 14 นี้เอง ทำให้นักพัฒนาสามารถแนะนำแอปพลิเคชันให้กับผู้ใช้งานได้ โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันนั้น เพียงแค่สแกนแท็ก NFC หรือ QR อีกทั้ง iOS14 ได้เพิ่ม NFC Tag Reader ทำให้ iPhone 6s และรุ่นที่เหนือจากนั้นสามารถอ่านแท็ก NFC ได้โดยง่าย เพียงแค่เปิดฟีเจอร์นี้ และแตะที่แท็ก  Craig Federighi รองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ Apple กล่าวว่า "เราตื่นเต้นที่จะได้เห็นวิธีเจ๋งๆ ของเหล่านักพัฒนาแอปในการใช้ประโยชน์จากวิดเจ็ตและ App Clips เพื่อมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ลูกค้าจะต้องปลื้ม"  App Clips คืออะไร?  แอปพลิเคชันที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ เมื่อเราสนใจใช้บริการนั้นๆ เช่น การสะสมแต้ม, การเช่ารถ, การสมัครสมาชิก, หรือแม้แต่กระทั่งการจ่ายเงิน เป็นต้น สร้างความยุ่งยากและวุ่นวาย ทำให้เราต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมากมายมาเก็บไว้ในเครื่องโดยที่ไม่จำเป็น ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วย App Clips  App Clips คือ ส่วนเล็กๆ ของแอปที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันลงเครื่อง ซึ่ง App Clips จะเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงแค่สแกนผ่านแท็ก NFC หรือรหัส QR เช่น...

Read more...
SIC-NFC

NFC เทคโนโลยีไร้สัมผัส กับการเติบโตในยุค COVID-19

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โลกของเราและประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยเทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่บางสิ่งบางอย่าง และมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สัมผัส หรือ Contactless Communication นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ปลุกกระแสในวงการไอที และมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดในหลายประเทศ โดยสามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและตอบสนองไลฟ์สไตล์อันเร่งรีบของวิถีชีวิตชาวเมืองได้เป็นอย่างดี  ในปี 2020 เกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างมากมายกว่า 1 ล้านรายทั่วโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาด คือต้องรักษาระยะห่างและลดการสัมผัสระหว่างบุคคล เป็นเหตุให้ Contactless Communication ถูกนำมาใช้งานมากกันอย่างแพร่หลาย โดยหนึ่งในการสื่อสารแบบไร้สัมผัสที่ได้รับความนิยมคือ เทคโนโลยี NFC นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยตรง จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนไปในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal NFC คืออะไร?   Near Field Communication (NFC) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในระยะใกล้แบบไร้สายชนิดหนึ่ง ที่ใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าวิทยุ ในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลระหว่าง “ตัวรับ” และ ”ตัวส่ง” โดยเทคโนโลยีนี้คือส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) เนื่องจากเป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุระบุตัวตนเช่นเดียวกัน ซึ่ง NFC นี้เอง จะใช้คลื่นพาหะ (Carrier Frequency) ความถี่สูงที่ 13.56 MHz และส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็ว 106 kbps ในช่วงระยะอ่าน 0-10 เซนติเมตร  โดยการใช้งาน NFC สามารถทำได้โดยง่าย เพียงแค่นำตัวอ่าน (Reader) หรือโทรศัพท์มือถือที่มีเทคโนโลยี NFC เข้าไปใกล้หรือแตะกับอุปกรณ์ที่มี NFC (NFC Device) จากนั้นอุปกรณ์ทั้งสองก็จะเชื่อมต่อและส่งถ่ายข้อมูลกันภายในระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 1-10 วินาที   โดยตัวอย่างของการใช้งาน NFC มีให้พบเห็นในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งด้านการเงิน การแพทย์ การขนส่งมวลชน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ของเล่น สินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยี NFC ยังถูกประยุกต์ใช้งานในอีกหลากหลายรูปแบบ ในโอกาสหน้าเราจะหยิบยกตัวอย่างอื่นๆ มานำเสนอเพิ่มเติม โปรดติดตามกันด้วยนะครับ 

Read more...
RFID-reader-toys-games

เมื่อ RFID Reader อยู่ในเกมส์และของเล่น แล้ว RFID มีบทบาท และการทำงานได้อย่างไร?

ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SIC) เป็นผู้ออกแบบ พัฒนา และจำหน่ายไมโครชิพซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือชิพสำหรับระบบการอ่านข้อมูล ที่รองรับกับมาตรฐานสากลและสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องอ่านสำหรับระบบอุตสาหกรรม (Industrial) เพื่อใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าในสายการผลิต และเครื่องอ่านสำหรับระบบของเล่น (Smart Toys and Games) เพื่อใช้เชื่อมต่อชิ้นของเล่นกับหน้าจอแสดงผลต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้เล่น เป็นต้น https://youtu.be/R4HxdMwMJs0 โดยวิดีโอนี้จะแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องอ่าน RFID ในเกมส์และของเล่น โดยในเครื่องอ่านที่เห็นจะถูกฝังด้วยไมโครชิพ RFID (RE41) ของเรา ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากการ์ด แปลงข้อมูล และแสดงผลในหน้าจอ ซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของการใช้งานเท่านั้น เทคโนโลยี RFID ยังอยู่รอบตัวเราอีกมากมาย หลักการและการทำงานของ RFID Reader Radio Frequency Identification...

Read more...
Manop-SICT-Forbes-Thailand

มานพ ธรรมสิริอนันต์ ชิปสัญชาติไทย สื่อไกลทั่วโลก

เจาะลึกเส้นทางชีวิต การดำเนินธุรกิจ และเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี RFID ของคนไทยให้ก้าวไกลไปสู่ระดับสากล กับบทสัมภาษณ์สุดพิเศษ คุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SICT ความตั้งใจของเขาที่ค้นพบตัวเองตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่งจบปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์สาขาออกแบบไมโครชิป สู่การทำงานกับบริษัทชั้นนำใน Silicon Valley สหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงกลับมาประเทศไทยเพื่อสร้างความฝันให้เป็นที่ประจักษ์ เกิดเป็น ซิลิคอน คราฟท์ฯ บริษัทของคนไทยที่ผลิตไมโครชิปจำหน่ายไปทั่วโลก SICT ดำเนินธุรกิจออกแบบและจำหน่ายวงจรรวม (Integrated Circuit Design: IC) หรือ ไมโครชิป RFID (Radio Frequency Identification) จัดเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ...

Read more...